คำถามที่พบบ่อย
บัญชีมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร
บริษัทหลักทรัพย์ เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ จำกัด มีประเภทบัญชีหุ้นและอนุพันธ์ ให้บริการดังนี้
1.) บัญชีหุ้น ได้แก่ 1.1) บัญชี Cash Account (บัญชีเงินสด), 1.2) บัญชี Cash Balance (บัญชีวางหลักประกันเต็มจำนวน) และ 1.3) บัญชี Credit Balance (บัญชีเงินกู้ หรือ มาร์จิ้น) โดยรายละเอียดบัญชีหุ้นแต่ละประเภทมีดังนี้

หัวข้อ

Cash Account 
(บัญชีเงินสด)

Cash Balance

(บัญชีวางหลักประกันเต็มจำนวน)

Credit Balance

(บัญชีเงินกู้ หรือ มาร์จิ้น)

รายละเอียดบัญชี
บัญชีลงทุนก่อนจ่ายทีหลัง บัญชีนี้ทางบริษัทหลักทรัพย์จะอนุมัติวงเงินให้นักลงทุนยืมไปเทรดก่อน โดยที่นักลงทุนต้องวางเงินประกัน 20% จากนั้นบริษัทหลักทรัพย์จะทำการตัดเงินในบัญชีออมทรัพย์อีก 2 วันข้างหน้า (T+2) โดยบริษัทหลักทรัพย์จะกำหนดวงเงินในการลงทุนที่เหมาะสมกับนักลงทุนแต่ละคนตามฐานะทางการเงิน, หลักประกัน และความสามารถในการชำระหนี้ บัญชีซื้อขายหุ้นที่นักลงทุน ต้องฝากเงินไว้กับบริษัทหลักทรัพย์ก่อน หากสั่งซื้อหุ้น เงินจะถูกหักออกจากบัญชีทันที (Line Available) ดังนั้นก่อนส่งคำสั่งซื้อขายนักลงทุนต้องตรวจสอบว่ามีเงินในบัญชีที่เพียงพอสำหรับ ชำระค่าซื้อหุ้นหรือไม่ บัญชีที่บริษัทหลักทรัพย์เปิดเพื่อให้สินเชื่อกับนักลงทุนในการลงทุนซื้อหุ้น โดยนักลงทุนจ่ายเงินซื้อเอง ส่วนหนึ่ง ที่เหลือบริษัทหลักทรัพย์จะเป็นฝ่ายจ่าย ซึ่งเงินที่บริษัทหลักทรัพย์จ่ายให้นั้น ถือว่าเป็นเงินส่วนที่ นักลงทุนกู้จากบริษัทหลักทรัพย์นั่นเอง โดยอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่บริษัทหลักทรัพย์กำหนด
วางหลักประกัน
20% 100% (เต็มจำนวน)
ตามประกาศบริษัท
ดอกเบี้ยบนหลักประกันที่วางไว้ ไม่มี ไม่มี ไม่มี
 
ระยะเวลาการชำระเงิน
2 วันข้างหน้า (T+2) ทันที ทันที (ตัดจากเงินวางหลักประกันก่อน)
เหมาะสำหรับ นักลงทุนที่มีวินัยในการลงทุนและคิดว่าตัวเองมีความสามารถในการชำระหนี้ได้ดี นักลงทุนมือใหม่หรือนักลงทุนที่ต้องการจำกัดวงเงินการลงทุน นักลงทุนที่มีประสบการณ์การลงทุนสูง มีความสามารถในการลงุทน และมีความสามารถในการชำระหนี้ได้ดี
มูลค่าซื้อขายต่อวัน อัตราค่าคอมมิชชั่นผ่านอินเตอร์เน็ต
0 0.100% 0.075% 0.075%
5 0.090% 0.065% 0.065%
10 0.075% 0.055% 0.055%
> 20 ล้านบาท 0.020% 0.020% 0.020%
ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำต่อวัน 50 บาท ไม่มี ไม่มี
 
2.) บัญชีอนุพันธ์ บัญชีซื้อขายตราสารอนุพันธ์และตราสารล่วงหน้าต่างๆ โดยลูกค้าจะต้องทำการวางหลักประกันก่อนส่งคำสั่งต่างๆ โดยอัตราหลักประกันจะเป็นไปตามที่ ตลาด Thailand Futures Exchange (TFEX) กำหนด
สินค้า จำนวนสัญญาต่อวัน ผ่านเจ้าหน้าที่การตลาด ผ่านอินเตอร์เน็ต
SET50 Futures 1-25 87.10 43.10
26-100 67.10
101-500 47.10
>500 37.10
SET50 Options 1-25 85.10 41.10
26-100 65.10
101-500 45.10
>500 35.10
10 Baht Gold Futures 1-25 98.10 48.60
26-100 78.10
101-500 58.10
>250 48.10
50 Baht Gold Futures 1-5 490.10 242.60
6-20 390.10
21-50 290.10
>50 240.10
Gold Online Futures 1-12 196.10 97.10
13-50 156.10
51-125 116.10
>125 96.10
Single Stock Futures (SSF) สำหรับหุ้นอ้างอิงที่ราคา (0.10% ของมูลค่า SSF) + 0.51 บาท (0.05% ของมูลค่า SSF) + 0.51 บาท
สำหรับหุ้นอ้างอิงที่ราคา > 100 บาท (0.10% ของมูลค่า SSF) + 5.10 บาท (0.05% ของมูลค่า SSF) + 5.10 บาท
หมายเหตุ
- อัตราค่าคอมมิชชั่นนี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

- บริษัทฯ ยังไม่เปิดบริการซื้อขาย Block Trade และการซืิ้อขายในช่วงภาคค่ำ (Night Session)
- เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
วิธีการคำนวณค่าคอมมิชชั่น และค่าใช้จ่ายในการเทรด
มูลค่าซื้อขยต่อวัน อัตราค่าคอมมิชชั่นผ่านอินเตอร์เน็ต
บัญชี Cash Account บัญชี Cash Balance บัญชี Credit Balance
0 0.100% 0.075% 0.075%
5 0.090% 0.065% 0.065%
10 0.075% 0.055% 0.055%
> 20 ล้านบาท 0.020% 0.020% 0.020%
ค่าธรรมเนียมขั้นต่อต่อวัน 50 บาท ไม่มี ไม่มี
 

ค่าคอมมิชชั่น = มูลค่าหุ้นที่ซื้อ x 0.075% ถึง0.020%* (เปลี่ยนแปลงตามมูลค่าซื้อขายต่อวัน)

ค่าใช้จ่ายในการเทรด = (ค่าคอมมิชชั่น + ค่าธรรมเนียมตลาดและกำกับดูแล 0.007%) + ภาษี 7%

 

ตัวอย่าง1: ซื้อหรือขายหุ้นมูลค่า 10,000 บาท/วัน (บัญชี Cash Balance)

ค่าคอมมิชชั่นช่วง 1-5 ล้าน (0.075%): 10,000 x 0.075% = 7.5 บาท

ค่าธรรมเนียมตลาดและกำกับดูแล (0.007%): 10,000 x 0.007% = 0.70 บาท

ภาษี (7%): (7.5 + 0.70) x 7% = 0.574 บาท

รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นในการเทรด 10,000 บาท: 7.5 + 0.70 + 0.574 = 8.774 บาท

 

 

ตัวอย่าง2: ซื้อหรือขายหุ้นมูลค่า 6,000,000 บาท/วัน (บัญชี Cash Balance)

ค่าคอมมิชชั่นช่วง 1-5 ล้าน (0.075%): 5,000,000 x 0.075% = 3,750 บาท

ค่าคอมมิชชั่นช่วง 5-10 ล้าน (0.065%): 1,000,000 x 0.065% = 650 บาท

ค่าธรรมเนียมตลาดและกำกับดูแล (0.007%): 6,000,000 x 0.007% = 420 บาท

ภาษี (7%): (3,750 + 650 + 420) x 7% = 337.40 บาท

รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นในการเทรด 6,000,000 บาท: 3,750 + 650 + 420 + 337.40 = 5,157.40 บาท

 

ตัวอย่าง3: ซื้อหรือขายหุ้นมูลค่า 32,000,000 บาท/วัน (บัญชี Cash Balance)

ค่าคอมมิชชั่นช่วง 1-5 ล้าน (0.075%): 5,000,000 x 0.075% = 3,750 บาท

ค่าคอมมิชชั่นช่วง 5-10 ล้าน (0.065%): 5,000,000 x 0.065% = 3,250 บาท

ค่าคอมมิชชั่นช่วง 10-20 ล้าน (0.055%): 10,000,000 x 0.055% = 5,500 บาท

ค่าคอมมิชชั่นช่วง 20 ล้านบาทขึ้นไป (0.020%): 12,000,000 x 0.020% = 2,400 บาท

ค่าธรรมเนียมตลาดและกำกับดูแล (0.007%): 32,000,000 x 0.007% = 2,240 บาท

ภาษี (7%): (3,750+3,250+5,500+2,400+2,240) x 7% =1,199.80 บาท

รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นในการเทรด 32,000,000 บาท: 17,140 + 1,199.80 = 18,339.80 บาท

 

 

รู้หรือไม่: หากท่านส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ 32,000,000 บาท ผ่านเจ้าหน่าที่การตลาดกับบริษัทหลักทรัพย์อื่นท่านจะเสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 66,061.80 บาท


SBITO ช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายกว่า 47,722 บาท!!!

 
ต้องการทราบสถานะการเปิดบัญชี ต้องทำอย่างไร

คุณสามารถตรวจสอบสถานะการเปิดบัญชีออนไลน์ได้โดยคลิกที่หัวข้อ “เปิดบัญชี” และเลือก “ตรวจสอบสถานะการเปิดบัญชีออนไลน์”
 

หลังจากนั้นให้กรอก 1) หมายเลขบัตรประชาชน และ 2) วัน/เดือน/ปี เกิด (ค.ศ.) และกดปุ่มค้นหา

ช่องทางการฝากเงินเข้าบัญชีหุ้นมีอะไรบ้าง และ ความแตกต่างของ Payment Gateway และ ATS คืออะไร

คุณสามารถทำการฝากเงินเข้าบัญชีหุ้นได้ทาง 1) Payment Gateway และ 2) ATS (Automatic Transfer System)


โดยความแตกต่างของ Payment Gateway และ ATS มีดังนี้
 

รายละเอียด การฝากเงินด้วยช่องทาง
Payment Gateway
การฝากเงินด้วยช่องทาง ATS
ระยะเวลาการหักบัญชี ทันที ทุกๆ 2 ชั่วโมง
ยอดเงินฝากขั้นต่ำ 1,000 บาท 5,000 บาท
ช่องทางฝากเงินสำหรับลูกค้าที่เปิดบัญชีแบบ Cash Balance หรือ Credit Balance เลือกสมัครช่องทางใดก็ได้ หรือ สมัครทั้ง 2 ช่องทาง (แนะนำ)
ช่องทางการงฝากเงินสำหรับลูกค้าที่เปิดบัญชี Cash Account หรือ TFEX จะเปิด หรือไม่เปิดใช้บริการ Payment Gateway ก็ได้ จำเป็น ต้องเปิดใช้บริการ ATS
 
ช่องทางการสมัครบริการ Payment Gateway / ATS

คุณสามารถสมัครบริการตัดเงินด้วยระบบ Payment Gateway และ/หรือ ATS โดยการผูกบัญชีธนาคารเหล่านี้

(คลิกที่ลิงค์เพื่อดูวิธีการสมัครโดยละเอียด)
 

ธนาคาร Payment Gateway ATS
ใบสมัคร ATM Internet Banking ใบสมัคร ATM Internet Banking
ธนาคารกรุงเทพ    
ธนาคารไทยพาณิชย์
ผ่านตู้ ATM
ผ่าน SCB Easy Net
ธนาคารกสิกรไทย  
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา    
ธนาคารกรุงไทย        
ธนาคารทหารไทย        
CIMB          
วิธีการฝากเงินเข้าพอร์ตผ่านช่องทาง Bill Payment (ชั่วคราว) ในกรณีที่รอผลการสมัคร Payment Gateway / ATS
สำหรับลูกค้าที่ได้ทำการสมัครบริการ Payment Gateway และ/หรือ ATS สำเร็จแล้ว และอยู่ระหว่างรออนุมัติ ท่านสามารถทำการฝากหลักประกันผ่านช่องทาง Bill Payment ของแต่ละธนาคาร ได้ดังนี้
 
ธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารทหารไทย -
*ท่านสามารถทำการฝากหลักประกันผ่านช่องทาง Bill Payment ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
วิธีการฝากเงินเข้าพอร์ต ภายหลังจากธนาคารได้ทำการอนุมัติ Payment Gateway / ATS แล้ว
ท่านสามารถฝากหลักประกันผ่าน ช่องทาง Payment Gateway / ATS ดังนี้
1.) Payment Gateway
1.1) ฝากหลักประกันผ่านเว็บไซต์


1.2) ฝากหลักประกันผ่าน app Streaming


2.) ATS
คุณสามารถดูรายละเอียดขั้นตอนการใช้ ATS เพื่อฝากเงินหลักประกันได้ ที่นี่

 
ถอนเงินทำอย่างไร


วิธีรับเงินมีอยู่ 4 ประเภท ดังนี้

ประเภทที่ 1: เลือก ถอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารที่ลงทะเบียนไว้กับ SBITO หรือผ่านระบบ ATS

(สำหรับการถอนหลักประกันที่ไม่ได้ติดภาระผูกพันธ์ใด หากเป็นเงินสดที่เกิดจากการขายหุ้นต้องพ้นกำหนดส่งมอบในวันที่T+2ไปแล้ว)

 


ประเภทที่ 2: เลือก นำไปชำระค่าซื้อหลักทร้ัพย์

(สำหรับถอนหลักประกันเพื่อนำไปชำระค่าซื้อหลักทรัพย์ที่ยังไม่ถึงกำหนด โดยต้องเลือกจากรายการค้างชำระที่มี)



ประเภทที่ 3: เลือก นำไปฝากเป็นหลักประกันในบัญชี

(สำหรับย้ายเงินจากบัญชีประเภทหนึ่ง ไปยังบัญชีอีกประเภทหนึ่ง เช่น ย้ายจากบัญชี Cash Account ไป Cash Balance หรือ TFEX)
 


ประเภทที่ 4: เลือก ถอนเงินค่าขายเพื่อนำฝากเข้าบัญชีผ่านระบบ ATS

(สำหรับถอนค่าขายที่ยังไม่ถึงกำหนดส่งมอบ(T+2) โดยส่งคำสั่งถอนเงินในวันที่ T+1 เพื่อรับเงินค่าขายเข้าบัญชีออมทรัพย์ในวันที่ T+2)


 


 
หมายเหตุ
1. เงินที่ถอนได้ คือ เงินที่ผ่านการชำระราคาในวันที่ T+2 แล้ว
2. ห้ามนำจำนวนเงินที่ต้องการถอนไปซื้อหลักทรัพย์ มิฉะนั้นคำขอถอนเงินของท่านจะถูกยกเลิก
3. 
สำหรับบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ประเภท Cash Balance และ Cash Account การส่งมอบหลักทรัพย์และการชำระราคา จะเกิดขึ้นจริงในวันที่ T+2
ต้องการเพิ่มวงเงินซื้อขายหลักทร้พย์ต้องทำอย่างไร

ในกรณีที่ลูกค้ามีความประสงค์เพิ่มวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์/อนุพันธ์ กรุณาส่งเอกสารดังนี้ (อย่างน้อย 1 อย่าง)

- สลิปเงินเดือนเดือนล่าสุด จำนวน 1 เดือน

- Statement แสดงรายการเคลื่อนไหวบัญชี ย้อนหลัง 90 วัน (3 เดือน)

- พันธบัตร / สลากออมสิน / พอร์ตกองทุน (ยกเว้น LTF,RMF) หรือ พอร์ตการลงทุนทองคำ จำนวน 1 เดือน

- พอร์ตแสดงสินทรัพย์คงเหลือจากบริษัทหลักทรัพย์อื่นในรูปแบบสรุปสิ้นเดือนย้อนหลัง 2 เดือนล่าสุด หรือ สรุปสิ้นวันย้อนหลัง 2 วัน โดยต้องเป็นยอดสิ้นวันจากคนละเดือน(ล่าสุด)และห่างกันไม่น้อยกว่า 10 วัน

โดยสามารถขอเพิ่มวงเงินพร้อมทั้งแนบเอกสารประกอบได้ทางหน้าเว็บ เลือกหัวข้อ ข้อมูลลูกค้า > ขอเพิ่มวงเงิน/ปรับวงเงิน

ลืมรหัสผ่าน ต้องทำอย่างไร
เปิดบัญชีใช้เอกสารประกอบอะไรบ้าง


อปแผอหฟดกห
บัญชี Cash, Cash Balance และ Credit Balance คืออะไร
Payment Gateway และ ATS ในการฝากเงินต่างกันอย่างไร
ฝากเงินอย่างไร
เมื่อฝากเงินเข้ามาเกิน Credit Line แล้วทำอย่างไร
ลืม Username
ลืม PIN
คำนวณค่าคอมมิชชั่น